ข้อสรุปในเรื่องการเลือกใช้น้ำมันพืชสำหรับบริโภค
31/07/2015
สนับสนุนข้อมูลโดย อาจารย์นายแพทย์ ปริย พรรณเชษฐ์ หน่วยโภชนวิทยา และชีวเคมีทางการแพทย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ตัวย่อที่สำคัญ : SFA = Saturated fatty acids ( กรดไขมันอิ่มตัว ) MUFA = Monounsaturated fatty acids ( กรดไขมันไม่อิ่มตัวพันธะคู่หนึ่งตำแหน่ง ) PUFA = Polyunsaturated fatty acids ( กรดไขมันไม่อิ่มตัวพันธะคู่หลายตำแหน่ง ) MCT = Medium chain triglyceride ( ไตรกลีเซอไรด์สายขนาดกลาง ) #ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับไขมันและน้ำมันพืช 1.ไขมันทุกชนิดล้วนให้พลังงานสูง รับประทานมากไปก็ก่อโรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ ควรรับประทานในปริมาณเหมาะสม คือพลังงานร้อยละ 35 ของทั้งหมดในแต่ละวัน ( อีก ร้อยละ 50 จากคาร์โบไฮเดรต [...]
สนับสนุนข้อมูลโดย อาจารย์นายแพทย์ ปริย พรรณเชษฐ์ หน่วยโภชนวิทยา และชีวเคมีทางการแพทย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
ตัวย่อที่สำคัญ
: SFA = Saturated fatty acids ( กรดไขมันอิ่มตัว )
MUFA = Monounsaturated fatty acids ( กรดไขมันไม่อิ่มตัวพันธะคู่หนึ่งตำแหน่ง )
PUFA = Polyunsaturated fatty acids ( กรดไขมันไม่อิ่มตัวพันธะคู่หลายตำแหน่ง )
MCT = Medium chain triglyceride ( ไตรกลีเซอไรด์สายขนาดกลาง )
#ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับไขมันและน้ำมันพืช
1.ไขมันทุกชนิดล้วนให้พลังงานสูง รับประทานมากไปก็ก่อโรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ ควรรับประทานในปริมาณเหมาะสม คือพลังงานร้อยละ 35 ของทั้งหมดในแต่ละวัน
( อีก ร้อยละ 50 จากคาร์โบไฮเดรต อีก ร้อยละ 15-20 จากโปรตีน )
แม้ไม่ได้จากน้ำมันพืช เราก็มักได้ไขมันปนมากับอาหารเพียงพออยู่แล้ว จึงควรใช้น้ำมันพืชไม่ต้องมาก หรือไม่ต้องมาหากินเสริมเพื่อหวังผลว่าช่วยให้สุขภาพดีขึ้น
2. น้ำมันพืชทุกชนิดมี SFA , MUFA , PUFA อยู่ปะปนกัน เพียงแต่สัดส่วนมากน้อยต่างกัน เราจึงมักเรียกสัดส่วนที่มากที่สุดเป็นตัวแทนน้ำมันนั้นๆ เช่น น้ำมันปาล์มมีทั้ง SFA , MUFA , PUFA แต่มีสัดส่วน SFA มากสุด จึงมักจัดในกลุ่มน้ำมัน SFA
SFA : ตัวอย่าง น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม
MUFA : ตัวอย่าง น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา
PUFA : ตัวอย่าง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง
ตารางไขมันชนิดต่างๆ :
3.ผลต่อไขมันในเลือดที่จะนำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจ ตามหลักฐานพบว่า
( LDL – ไขมันร้าย , HDL – ไขมันดี )
PUFA ลด LDL แต่ลด HDL ด้วย
MUFA ลด LDL ไม่มีผลกับ HDL
SFA เ พิ่ม LDL เพิ่ม HDL
Transfat เพิ่ม LDL ลด HDL
จากสิ่งนี้จึงเรียงได้เป็น (ดีสุด) MUFA>
PUFA >=SFA>>>>>>>>>> Trans fat (แย่สุด)
4. จากความรู้ในข้อ 3 ข้อแนะนำล่าสุดจาก American diabetic association ( ADA ) ในสัดส่วนไขมันที่ควรได้รับคือ
Total daily energy from fat 35 % แบ่งเป็น
- MUFA up to 20%
- PUFA up to 10%
- SFA < 7%
- Trans fat < 1% of total energy
อ้างอิง (ดูหน้า V-4 ตาราง V2-1, V2-2)
http://www.nhlbi.nih.gov/guidelines/cholesterol/atp3full.pdf
> สมัยหนึ่งจะแนะนำสัดส่วน PUFA มากกว่าแต่ตอนหลังพบ MUFA ให้ประโยชน์มากกว่า จึงเปลี่ยนยกขึ้นมาไว้มากสุด PUFA รองลงมา และตามด้วย SFA และ Trans fat ที่ไม่ควรมี
5. ในแง่ของการนำไปใช้ปรุงอาหาร
- PUFA เหมาะสำหรับทำอาหารที่ผ่านความร้อนไม่นาน เช่น อาหารผัด ไม่ควรใช้ทอดอาหารเนื่องจากถ้าผ่านความร้อนสูงเป็นเวลานานหรือใช้ซ้ำๆจะทำให้กลายเป็น Trans fat ไขมันที่ร้ายที่สุด
- MUFA แม้คุณสมบัติดีแต่ไม่เหมาะในการรผ่านความร้อน ควรใช้สำหรับรับประทานสด
เช่นน้ำมันมะกอก
- SFA เหมาะสำหรับใช้ทอดอาหาร deep fried ไฟแรง เพื่อไม่ให้เกิดการกลายเป็น Transfat แบบใน PUFA
> SFA ที่แนะนำคือ น้ำมันปาล์ม ( ในต่างประเทศคือ น้ำมันถั่วลิสง )
> แต่น้ำมันมะพร้าวยังไม่แนะนำในการทอดอาหารเพราะคุณสมบัติที่เป็น MCT
(ไตรกลีเซอไรด์สายสั้น Medium chain triglyceride) ทำให้ไม่เหมาะต่อการโดนความร้อน , เหม็นหืนง่าย รสชาติอาหารจะไม่ดีนัก และหากรับประทานมากๆอาจท้องเสียได้
6. ความรู้เรื่องของ ไตรกลีเซอไรด์สายสั้น ( Medium chain triglyceride : MCT )
เพราะมักมีคนอ้างถึงข้อดีของ MCT ในน้ำมันมะพร้าวกันมากว่าย่อยง่าย
ในยามร่างกายปกติร่างกายจะดึงเอา ไตรกลีเซอไรด์สายยาว ( Long chain triglyceride : LCT ) เข้าไปใช้ได้ง่ายโดยใช้สิ่งที่เรียกว่า L-carnitine เป็นตัวช่วย
แต่ยามร่างกายเจ็บป่วย L –carnitine จะลดลงทำให้ดูดซึม LCT ไปใช้ไม่ดี
> ดังนั้นอาหารสำหรับผู้ป่วยทางการแพทย์จึงใช้เป็น MCT ( แบบเดียวกับน้ำมันมะพร้าว ) เพราะดูดซึมได้ทันทีแม้ไม่มี L-carnitine
แต่หากเรานำ MCT มาใช้ในชีวิตประจำวันในคนปกติมากๆ ไขมัน MCT นี้ก็จะเข้าสู่เซลล์ปริมาณมากอย่างวไม่มีเบรค อาจทำให้เราได้รับไขมันมากเกินไป มีการพบความสัมพันธ์ระหว่างไขมันจับในตับกับการใช้ MCT มากเกินไปด้วย
### สรุปการนำไปใช้ สำหรับในบ้านเรา ###
ถ้าจะให้ดีในครัวควรมีน้ำมันพืชสองขวด
ขวดที่ 1 : น้ำมันพืช PUFA ( น้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด
น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น ) สำหรับอาหารผัด หรือไฟอ่อน
ขวดที่ 2 : น้ำมันพืช SFA ( น้ำมันปาล์ม ) สำหรับอาหารทอดหรือ ไฟแรง ( แต่ไม่ควรกินเยอะ )
แต่อาจารย์ก็บอกว่าที่บ้านก็มีขวดเดียวคือ PUFA เพราะไม่สับสน 555
และใช้การลดการกินของทอดไม่ให้มากเอา